เป้าหมายหลัก

เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายทั้งภายนอกและภายใน และสามารถออกแบบวิถีชีวิตการกิน การอยู่ การดูแลสุขภาพได้ รวมทั้งสามารถวางเป้าหมายชีวิตในแต่ละช่วงเวลาในการทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีความหมาย

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

mind mapping





    แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ  PBL ( Problem Based   Learning )
Topic : “ ชีวิตออกแบบได้”
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   Quarter 1 ประจำปีการศึกษา 2558

Topic : ชีวิตออกแบบได้
คำถามหลัก (Big  Question)  :  โครงสร้างและการทำงานของระบบต่างๆทั้งภายนอก ภายในร่างกายเป็นอย่างไร และเราจะสามารถออกแบบวิถีการกิน การอยู่และการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างไร?
ภูมิหลังของปัญหา : การเผชิญกับกระแสโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดความเสื่อมถอยของครอบครัวและสังคม  การดำเนินธุรกิจที่ขาดความรับผิดชอบก่อให้เกิดค่านิยม วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่เพียงพอและขาดวามสมดุล สภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย ขาดการดูแลใส่ใจและควบคุมป้องกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย จนเกิดความเครียด และหาทางออกโดยการกินอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ทำให้มีภาวะนำหนักเกินและอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักสำคัญทำให้เกิดโรคติดต่อและไม่ติดต่อเรื้อรังหรือเรียกว่าโรควิถีชีวิตแพร่ระบาดไปทั่วโลกและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนสามารถออกแบบและใช้ชีวิตทั้งเรื่องการกิน การอยู่และดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเองได้จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้
เป้ามายความเข้าใจ  Understanding Goals :  เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายทั้งภายนอกและภายใน และสามารถออกแบบวิถีชีวิตการกิน การอยู่  การดูแลสุขภาพได้ รวมทั้งสามารถวางเป้าหมายชีวิตในแต่ละช่วงเวลาในการทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีความหมาย
ระยะเวลา (Duration) : 10 สัปดาห์ ( 8ชั่วโมง / สัปดาห์)
ครูผู้สอน : นายนิกร  เนตรวีระ

ปฏิทินการเรียนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ  PBL ( Problem Based  Learning )
Topic : “ ชีวิตออกแบบได้”
ระดับชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4  Quarter 1  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558

สัปดาห์


เนื้อหา

คำถามหลัก

กิจกรรม

ชิ้นงาน/ภาระงาน

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1

การสร้างแรงบันดาลใจ
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพราะเหตุใด?
- สิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆอย่างไรบ้าง?
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอนิทานจักรกลของร่างกาย ตอน “กำเนิดชีวิต”
- เกม Me and You เรารู้กัน
- ครูเล่าหนังสือเรื่อง “เรื่องเล่าจากร่างกาย” ตอนที่ 1
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอนิทานจักรกลของร่างกาย ตอน “กำเนิดชีวิต”
- หนังสือเรื่อง “เรื่องเล่าจากร่างกาย” ตอนที่ 1
- เกม Me and You เรารู้กัน
2

กระบวนการได้มาซึ่ง Topic
- เลือกหัวข้อ
- เขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ทำปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
นักเรียนจะวาง แผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร?

- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกันเกี่ยวกับTopic ชีวิตออกแบบได้
- เกมใบ้คำศัพท์ร่างกายน่ารู้
- ครูเล่าหนังสือเรื่อง “เรื่องเล่าจากร่างกาย” ตอนที่ 2
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “เรื่องเล่าจากร่างกาย”

- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- หัวข้อ  Topic
- ปฏิทินการเรียนรู้ ประจำ Quarter ที่ 1
- Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้) - หนังสือเรื่อง “เรื่องเล่าจากร่างกาย” ตอนที่ 2
- เกมใบ้คำศัพท์ร่างกายน่ารู้

สัปดาห์


เนื้อหา

คำถามหลัก

กิจกรรม

ชิ้นงาน/ภาระงาน

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
3

การเกิดของคน
- ธรรมชาติ
- เด็กหลอดแก้ว
- ทำกิ๊ฟท์
- เด็กฝาแฝดเกิดขึ้นได้อย่างไร?
- ทำไมบางคนเกิดมาถึงมีอวัยวะไม่ครบ 32 ?

- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่าข่าวเกี่ยวกับเรื่อง เด็กฝาแฝด,การทำกิ๊บ,การโคลนนิ่ง
- นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้ฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เด็กฝาแฝดเกิดขึ้นได้อย่างไร?

- การตอบคำถาม
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- แผ่นภาพ Flow Chart การเกิดของคนในรูปแบบต่างๆ
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- คลิปวีดีโอนิทานจักรกลของร่างกาย ตอน “กำเนิดชีวิต”
ข่าวเกี่ยวกับเรื่อง เด็กฝาแฝด,การทำกิ๊บ,การโคลนนิ่ง
4

โครงสร้างอวัยวะภายในและภายนอกของร่างกาย
- ผู้หญิงกับผู้ชายแตกต่างกันอย่างไร?
- คนกับวัวแตกต่างกันอย่างไร?

- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ผู้หญิงกับผู้ชายแตกต่างกันอย่างไร?
- นักเรียนจับคู่ชายหญิงสำรวจและวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายของตนเองและเพื่อน
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ทำ











- การตอบคำถาม
- แผ่นภาพโครงสร้างของร่างกายภายในและภายนอก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- ปริศนาคำทาย “อวัยวะน่ารู้”




สัปดาห์


เนื้อหา

คำถามหลัก

กิจกรรม

ชิ้นงาน/ภาระงาน

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
5

การทำงานของอวัยวะภายในและภายนอกของร่างกาย
ถ้าคนไม่มีอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งจะเป็นอย่างไร?

- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ฟังนิทานเรื่อง “ทุกส่วนของร่างกาย”
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากสิ่งที่ได้ฟัง
- ดูภาพอวัยวะ เช่น ศีรษะโต แขนสองข้างไม่เท่ากัน ฯลฯและวิเคราะห์
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากสิ่งที่ได้ดู

- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การตอบคำถาม
-  การ์ดหน้าที่การทำงานของอวัยวะภายในและภายนอกร่างกาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- นิทานเรื่อง “ทุกส่วนของร่างกาย”
- ภาพอวัยวะ เช่น ศีรษะโต แขนสองข้างไม่เท่ากัน ฯลฯ
6

การทำงานและความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในร่างกาย
- ทำไมเราต้องหายใจ ?
- ทำไมเราต้องมีเลือด ?
- การหาวเกิดจากอะไร ?
-ทำไมจึงเกิดโรคกระเพาะ?

- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
-  ดูคลิปวีดีโอ “Body Atlas Digest & Urine ” (ระบบย่อยอาหาร,ระบบหายใจ,ระบบขับถ่าย,ระบบไหลเวียนเลือด)
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากสิ่งที่ได้ดู
- นักเรียนทำกิจกรรมการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น วิ่ง เดิน นั่ง นอน ตกใจ ดีใจ










- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การตอบคำถาม
- โมเดลระบบต่างๆในร่างกาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- คลิปวีดีโอ “Body Atlas Digest & Urine


สัปดาห์


เนื้อหา

คำถามหลัก

กิจกรรม

ชิ้นงาน/ภาระงาน

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
6



- ครูนำลูกโป่งมาให้นักเรียนกลุ่มละ 2 ลูก ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าลูกโป่งสามารถนำมา
ทดลองระบบการทำงานของร่างกายใดได้บ้าง?
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากกิจกรรมที่ทำ


(ระบบย่อยอาหาร,ระบบหายใจ,ระบบขับถ่าย,ระบบ
ไหลเวียนเลือด)
- เครื่องวัดการเต้นของหัวใจ
7

การทำงานและความสัมพันธ์ของระบบต่างๆในร่างกาย
- อาการมือสั่นเกิดขึ้นได้อย่างไร
- ไมเกรน/อัลไซเมอร์เกิดขึ้นได้อย่างไร?

- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา

- ทดลองการเกิดปฏิกิริยารีเฟล็กซ์จากโยน-รับส่งลูกบอล /นั่งใช้สิ่งของเคาะที่เข่า  /จากเทียนที่จุดไฟ

- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมทดลองและแสดงความคิดเห็นจากการทำกิจกรรม
-  ดูคลิปวีดีโอ “Body Atlas Digest & Urine ” (ระบบประสาท,ระบบกล้ามเนื้อ,ระบบโครงกระดูก,ระบบสืบพันธุ์)

- นักเรียนสรุปความเข้าใจจากการดูคลิปวีดีโอ ในรูปแบบ Mind Mapping

- ทัศนศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกาย


- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การตอบคำถาม
- โมเดลระบบต่างๆในร่างกาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
- คลิปวีดีโอ “Body Atlas Digest & Urine ” (ระบบประสาท,ระบบกล้ามเนื้อ,ระบบโครงกระดูก,ระบบสืบพันธุ์)



























สัปดาห์


เนื้อหา

คำถามหลัก

กิจกรรม

ชิ้นงาน/ภาระงาน

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
8

เซลล์และความสำคัญของเซลล์
- โรคโลหิตจากเกิดขึ้นได้อย่างไร?
- ทำไมผมจึงร่วง ?
- ผมหงอกเกิดขึ้นได้อย่างไร?
- เซลล์ของคน พืช สัตว์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ส่องกล้องจุลทรรศน์สังเกตรูปร่างลักษณะของเซลล์ พืช สัตว์ คน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?
- ดูคลิปวีดีโอ “Imtroduction to cells
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การตอบคำถาม
- วาดภาพเซลล์ คน พืช สัตว์
- นิทานช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- กล้องจุลทรรศน์
- พืช (ว่านกาบหอย/หัวหอม)
- เนื้อหมู
- เล็บ/ เส้นผม
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้)
9

โรคและการป้องกันโรคต่างๆ
โรคต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างไร?

- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มวิเคราะห์ภาพที่เห็น โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเป็นโรคอะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร?
- ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับโรคต่างๆเช่น “โรคอ้วน”
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ทำ
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การตอบคำถาม
- บทความ
- ละคร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้
- คลิปวีดีโอเกี่ยวกับโรคต่างๆ
- ภาพโปสเตอร์โรคต่างๆ


สัปดาห์


เนื้อหา

คำถามหลัก

กิจกรรม

ชิ้นงาน/ภาระงาน

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
9

การดูแลสุขภาพ
เราจะสามารถออกแบบวิถีการกิน การอยู่และการดูแลสุขภาพได้อย่างไร?
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูนำอาหารประเภทต่างๆมาให้นักเรียนได้ทดลองชิม เช่น อาหารสำเร็จรูป (ไส้กรอก,มาม่าฯลฯ) นม /สลัดผักผลไม้ /ขนมกรุบกรอบ (เลย์,ขาไก่,ตะวัน) / น้ำอัดลม/ น้ำผลไม้ ฯลฯ
- ดูคลิปวีดีโอ “อาหารเพื่อสุขภาพ ” “โยคะเพื่อสุขภาพ”
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ได้ทำ

- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การตอบคำถาม
- ประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้
- คลิปวีดีโอเกี่ยวกับการทำอาหารเพื่อสุขภาพ
- อาหารสำเร็จรูป (ไส้กรอก,มาม่าฯลฯ) นม /สลัดผักผลไม้ /ขนมกรุบกรอบ (เลย์,ขาไก่,ตะวัน) / น้ำอัดลม/ น้ำผลไม้ ฯลฯ
- คลิปวีดีโอไทเก๊ก
10

สรุปองค์ความรู้และเผยแพร่องค์ความรู้

นักเรียนจะเผยแพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับTopic“ชีวิตออกแบบได้ให้ผู้อื่น เข้าใจได้อย่างไรบ้าง?

- ระดมสมองแสดงความคิดเห็นเพื่อออกแบบการแสดงสรุปองค์ความรู้
- สะท้อนความคิดเห็นพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อทบทวน
เกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ร่วมกัน (Brainstorm, Show and Share)
- สรุปองค์ความรู้หลังเรียนเป็น Mind Mapping
- เขียนสิ่งที่ดีแล้ว สิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม

- การตอบคำถาม
- Mind Mapping หลังการเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- ครู (ผู้สร้างการเรียนรู้/กระตุ้นการคิด)
- นักเรียน (ผู้ร่วมเรียนรู้